วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2556

โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำยาล้างจานกลิ่นสตรอเบอร์รี่

โครงงานวิทยาศาสตร์
เรื่อง น้ำยาล้างจานกลิ่นสตรอเบอร์รี่

จัดทำโดย
                   เด็กหญิงกัญญาพัชร   จำปาทิพย์       เลขที่ 2
                   เด็กหญิงจารุกัญญา    โนจักร             เลขที่ 5
                   เด็กหญิงธนพรรณ     สอนราช          เลขที่ 14
                   เด็กหญิงธัญพิชชา     สีสา                  เลขที่ 15


รายงานฉบับนี้เป็นส่วนประกอบของโครงงานวิทยาศาสตร์
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 39 จังหวัดอุตรดิตถ์
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ

บทที่ 1
บทนำ
ที่มาและความสำคัญ
        ในปัจจุบันน้ำยาล้างจานเป็นสิ่งสำคัญที่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวันเป็นสิ่งที่ใช้ทำความสะอาดภาชนะภายในห้องครัวไม่ว่าจะเป็น ช้อน ส้อม แก้วน้ำ มีด จาน ถ้วย และภาชนะต่างๆอีกมากมายภายในห้องครัวน้ำยาล้างจานเป็นสารเคมีที่ใช้ขจัดคราบสิ่งสกปรกออกจากภาชนะหลังจากที่เราได้รับประทานอาหารเสร็จเรียบร้อยแล้วไม่ว่าจะเป็นมื้อใดก็ตามซึ่งน้ำยาล้างจานมีส่วนผสมในการช่วยลดแรงตึงผิวของคราบสกปรกต่างๆที่อยู่บนภาชนะเครื่องครัวมีการระคายเคืองต่ำประโยชน์ของน้ำยาล้างจานสามารถใช้ล้างคราบหรือสิ่งสกปรกออกจากภาชนะได้ซึ่งจะเกิดฟองที่ช่วยในการทำความสะอาดให้ภาชนะมีความสะอาดมากยิ่งขึ้นและเราสามารถนำความรู้เรื่องน้ำยาล้างจานไปบอกต่อให้ผู้อื่นได้ทราบได้เช่นเดียวกัน เนื่องจากเศรษฐกิจในปัจจุบันมีการใช้ค่าใช้จ่ายในเรื่องเศรษฐกิจมากดังนั้นเราจึงควรประหยัดค่าใช้จ่ายภายในครอบครัวของเราเองโดยการผลิตน้ำยาล้างจานมาเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันสามารถเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วยกลุ่มของพวกเราจึงได้จัดทำโครงงานเรื่อง น้ำยาล้างจานกลิ่นสตรอเบอร์รี่ขึ้นมาเพื่อลดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของเราและเราสามารถต่อยอดการทำน้ำยาล้างจานได้โดยการนำไปผลิตขายซึ่งจะได้สร้างรายได้และสามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายที่มีอยู่ได้เช่นกัน ดังนั้นเราหวังว่าโครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง น้ำยาล้างจานกลิ่นสตรอเบอร์รี่จะเป็นความรู้แก่ผู้ที่สนใจที่จะสร้างรายได้ทุกๆคน
1.2 วัสดุอุปกรณ์
1. หัวเชื้อน้ำยาล้างจาน(N70) 800 มิลลิลิตร
2. เกลือ 3 ช้อนชา
3. กลิ่นสังเคราะห์สตรอเบอร์รี่ 1 ขวด
4. น้ำขี้เถ้า 2 ลิตร
5.ถัง 1 ใบ
6. บีกเกอร์ขนาด 600มิลลิลิตรและขนาด 250 มิลลิลิตร
7.ไม้คน,ไม้พาย
1.3 ขอบเขตการศึกษา
1.3.1 ขอบเขตด้านเนื้อหา
1. เติมหัวเชื้อแชมพูออยล์  (N70) ลงในถัง
2.ใส่เกลือ 3 ช้อนลงไปในถังแล้วคนไปในทางเดียวกัน
3.เทน้ำขี้เถ้าลงไปในบีกเกอร์ปริมาณ 2 ลิตร
4.ใส่กลิ่นสังเคราะห์สตรอเบอร์รี่ปริมาณ 1 ขวด ลงในบีกเกอร์
5. เทน้ำขี้เถ้าปริมาณ 2 ลิตร และกลิ่นสังเคราะห์สตรอเบอร์รี่ปริมาณ 1 ขวด ลงในถังคนไปในทางเดียวกันแล้วทิ้งไว้ 1 คืน
6.จากนั้นนำไปใช้ล้างจานและคราบสิ่งสกปรกต่างๆ
1.3.2 ขอบเขตด้านสถานที่
        - ห้อง 331และ ห้อง 433
1.4 สมมติฐาน
      น้ำยาล้างจานกลิ่นสตรอเบอร์รี่สามารถทำได้ภายในเวลา 1 ชั่วโมงได้หรือไม่
1.5 ตัวแปรที่ศึกษา
     ตัวแปรต้น - น้ำยาล้างจานกลิ่นสตรอเบอร์รี่
     ตัวแปรตาม - ผลของการทำน้ำยาล้างจาน
     ตัวแปรควบคุม -ระยะเวลาในการทำโครงงานภายในเวลา 1 ชั่วโมง

1.6 นิยามเชิงปฏิบัติการ
- น้ำยาล้างจานกลิ่นสตรอเบอร์รี่สามารถทำได้ภายในเวลา 1 ชั่วโมงได้หรือไม่
     คำศัพท์เฉพาะ
     หัวเชื้อน้ำยาล้างจาน(N70) หมายถึง ชื่อการค้าของสารชำระล้างชนิดหนึ่งชื่อ Sodium Lauryl Ether Sulfate  มีความเข้มข้น70 เปอร์เซ็นต์  เป็นสารชำระล้าง มีราคาถูกที่นิยมใช้ในผลิตภัณฑ์ชำระล้างแทบทุกชนิด  มีตัวเจือจางกลุ่มเดียวกัน ได้แก่ Terapon N 8000 มีความเข้มข้น 28 เปอร์เซ็นต์ เป็นสารประเภทลดแรงตึงผิวมีประจุลบ มีคุณสมบัติในการกำจัดสิ่งสกปรกดี   
บทที่2
เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
น้ำยาล้างจานกลิ่นสตรอเบอร์รี่
2.1) น้ำยาล้างจานกลิ่นสตรอเบอร์รี่
1)น้ำยาล้างจาน
คือสารชำระล้าง (detergent) ที่ใช้ช่วยในการล้างจาน มีส่วนผสมของสารลดแรงตึงผิว (surfactant) ที่มีการระคายเคืองต่ำ ประโยชน์หลักของน้ำยาล้างจานคือใช้ล้างภาชนะและเครื่องครัวด้วยมือหลังจากประกอบหรือรับประทานอาหารแล้ว น้ำยาล้างจานทำให้สิ่งสกปรกและไขมันหลุดจากภาชนะและรวมตัวเป็นอีมัลชัน (emulsion) อยู่ในน้ำหรือฟอง (foam) เนื่องจากโมเลกุลของน้ำยาล้างจานประกอบด้วยส่วนที่มีขั้วและไม่มีขั้วเช่นเดียวกับผงซักฟอก ส่วนที่มีขั้วจะจับกับโมเลกุลของน้ำ และส่วนที่ไม่มีขั้วจะจับกับสิ่งสกปรกให้หลุดออก ในสมัยก่อนมีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น สบู่ล้างจาน หรือ ครีมล้างจานเนื่องจากเคยผลิตในรูปของสบู่และครีมมาก่อน ปัจจุบันน้ำยาล้างจานมีส่วนผสมอื่นรวมอยู่ด้วย เช่น น้ำมะนาวหรือชา ซึ่งเชื่อว่าเป็นการช่วยให้ภาชนะสะอาดมากขึ้นและถนอมมือมากกว่าเดิม
2)ส่วนประกอบของน้ำยาล้างจาน
ผลิตภัณฑ์น้ำยาล้างจาน หรือที่นิยมเรียกกันว่า น้ำยาล้างจาน มีสารเคมีประเภท สารลดแรงตึงผิว(Surfactant) 
เป็นส่วนประกอบหลัก(สารออกฤทธิ์)สารลดแรงตึงผิว กลุ่มที่มีประจุลบ ( Anionic Surfactant ) ผลิตภัณฑ์ล้างจานบางยี่ห้อ  จะนำ สารลดแรงตึงผิวชนิดอื่น (ซึ่งมีประสิทธิภาพสูง หรือ มีอันตรายต่ำ) มาใช้ร่วมด้วยในปริมาณเล็กน้อย  เช่น ใช้ Cocamidopropylbetaine  ( สารลดแรงตึงผิวกลุ่มที่มีทั้งประจุลบและประจุบวก  ;  Amphoteric Surfactant )  และ / หรือ  Ethoxylated Alcohol , Alkyl glucoside , Alkyl polyglucoside  ( สารลดแรงตึงผิวกลุ่มที่ไม่มีประจุ  ;  Nonionic Surfactant ) 
2.2)   1) หัวเชื้อน้ำยาล้างจาน  (N70)
คือ ชื่อการค้าของสารชำระล้างชนิดหนึ่งชื่อ Sodium Lauryl Ether Sulfate  มีความเข้มข้น70 เปอร์เซ็นต์  เป็นสารชำระล้าง มีราคาถูกที่นิยมใช้ในผลิตภัณฑ์ชำระล้างแทบทุกชนิด  มีตัวเจือจางกลุ่มเดียวกัน ได้แก่ Terapon N 8000 มีความเข้มข้น 28 เปอร์เซ็นต์ เป็นสารประเภทลดแรงตึงผิวมีประจุลบ มีคุณสมบัติในการกำจัดสิ่งสกปรกดี   ปัจจุบันมีรายงานเกี่ยวกับการก่อการระคายเคือง ตลอดจนการเป็นสารที่อาจก่อมะเร็ง หากผสมกับสารอื่นๆ ในสูตรเคมี ที่ก่อไนโตรเจน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ ต้องมีความรู้ในสารเคมีแต่ละชนิดที่จะนำมาใช้อย่างถูกต้องและมีความรอบคอบในการตั้งตำรับ และผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสม่ำเสมอ และความแม่นยำของน้ำหนักสารแต่ละตัวในสูตรสำหรับส่วนประกอบของ N-70 ของ cognisก็มี SLES เป็น active ingredient ประมาณ 70% (N-70) ส่วนอีก 30 % ที่เหลือ ก็จะน้ำ กับ Impurities อื่นๆ เช่น Sodium Chloride (NaCl), Sodium Sulfate (Na2SO4) เป็นต้น
          2) น้ำขี้เถ้า(น้ำด่าง)
 วิธีการทำน้ำด่างจากขี้เถ้า
1.นำไม้ไปเผาให้เป็นขี้เถ้า แล้วนำขี้เถ้าที่ได้ใส่ในหม้อดินหรือไห
2.เทน้ำใส่พอท่วมคนประมาณ 5-10 รอบตั้งทิ้งไว้ 12 ชั่วโมงหรือ 1 วัน
3. กรองเอาน้ำใสๆ แล้วตั้งทิ้งไว้ให้ตกตะกอนแล้วกรองอีกรอบหนึ่ง จากนั้นนำน้ำที่ได้ใส่ในขวดแก้วเก็บไว้เพื่อใช้
         3) กลิ่นสังเคราะห์สตรอเบอร์รี่
         4)เกลือ
        คือ เม็ดที่ได้จากการตกผลึกของน้ำในมหาสมุทรไปด้วยคุณค่าและคุณภาพ ที่คุณอาจเข้าใจถึงความเค็มเข้มดั่งเม็ดเกลือ รุ่งเช้าได้ไปถ่ายรูปลุงจวนกำลังลากลูกกลิ้งปรับพื้นนา อธิบายให้ฟังว่า การทำเกลือเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เกลือแม่กลองเป็นที่ดีที่สุด เพราะเป็นเกลือสมุทร คือเส้นทางสายน้ำจากทะเลสู่...นา จะไหลผ่านแพรกคลองที่ปกคลุมไปด้วยต้นจาก ป่าแสม ป่าโกงกาง ไม่มีโรงงาน ไม่มีหมู่บ้านจัดสรร ที่ส่งผลเทน้ำเสียลงท่องสู่ทะเล จึงทำให้ได้น้ำดีที่มีคุณภาพในการผลิต โดยสังเกตง่ายๆมองไปกลางนาเวลาที่เกลือที่ตกผลึก จะเป็นสีขาวเป็นเกล็ดเงาคริสตอล เรียกว่าดอกเกลือ การทำต้องใช้เวลาหลายขั้นตอน เริ่มต้นครั้งแรกต้องคาดชักลากชักจูงเหมือนไถนาข้าว เพื่อให้ดินมันฟู และดูแลการเก็บวัสดุธรรมชาติที่ไม่ใช่ดินเอาออกไป ที่สำคัญจะต้องแทงขาเสียก่อน พอสรุปตีความได้ว่า คล้ายกับการทำคันดินให้สูง เพื่อเป็นทางน้ำเดินในนาและป้องกันน้ำเอ่อล้น อีกทั้งใช้เป็นคันดินเดินเวลาหาบเกลือได้ด้วย แล้วจึงจะละเลงดินเลนให้เรียบเสมอ แล้วก็ตากให้แห้งมาด กลิ้งบดทับให้แน่นพร้อมปั่นน้ำทะเลเข้าด้วยกังหันที่เห็นๆตามนานั่นเอง กักน้ำต้องคอยดูแลตักขี้แดดออกให้สะอาด พอเกลือตกผลึกเป็นเกล็ดหรือที่เรียกว่าดอกเกลือ ตักพักใส่เข่งพักไว้ที่คันนา และดอกเกลือมีคุณสมบัติคือเป็น...เกลือจืด หลังจากเป็นดอกเกลือน้ำในนาก็จะลดและตกผลึกมากขึ้นตามลำดับ เราก็ต้องปาดคาดเก็บเกี่ยวตะล่อมรวมให้เป็นกองๆหลังจากนั้นลากกลิ้งบกทับให้พื้นนามันแน่นๆ แล้วปล่อยน้ำจากทะเลมหาสมุทรไหลเข้านาอีกครั้ง ในขณะเดียวกันต้องแทงขาซ้ำก่อนปล่อยน้ำเข้า การทำนาเกลือจำเป็นต้องใช้แรงงานมาก และต้องทำหลายๆไร่พอจะคุ้มกับการลงทุน ถ้าจะมานั่งทำแค่สองคนตายาย 1-2 ไร่ ถึงจะกินก้อนเกลือแทนข้าว ก็ยังไม่พอกิน เพราะเกลือถังไม่กี่บาท ดอกเกลือถังละ 25 บาท มันก็มีไม่มาก ตัวเกลือชั้นล่างถังละ 7-8 บาท และข้อควรระวังถ้าน้ำทะเลในมหาสมุทรขึ้นมากไหลเข้านามากเกินความจำเป็น ก็จะทำให้ได้เกลือน้อยหรือก็ละลายไม่เป็นเกลือ กลับเป็นน้ำไหลผ่านป่าโกงกางออกกลับไปสู่...มหาสมุทรไปในที่สุด

บทที่3
วิธีดำเนินการทดลอง
กลุ่มของข้าพเจ้าได้ทำโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำยาล้างจานกลิ่นสตรอเบอร์รี่โดยมีวัสดุอุปกรณ์ดังนี้
วัสดุ
1. หัวเชื้อแชมพูออยล์(N70) 800 มิลลิลิตร
2. เกลือ 3 ช้อนชา
3. กลิ่นสังเคราะห์สตรอเบอร์รี่ 1 ขวด
4. น้ำขี้เถ้า 2 ลิตร
อุปกรณ์
1. ถัง 1 ใบ
2. บีกเกอร์ขนาด 600มิลลิลิตรและขนาด 250 มิลลิลิตร
3. ไม้คน,ไม้พาย
3.1 กลุ่มผู้จัดทำโครงงานได้ดำเนินการจัดทำโครงงานการทดลองดังนี้
3.1.1 ปฏิทินการปฏิบัติงาน
3.1.2 ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
3.1.3 ขั้นตอนการจัดทำโครงงาน
3.2 ตารางปฏิทินการปฏิบัติงาน
ลำดับที่
รายการ
ระยะเวลา
ผู้รับผิดชอบ
1
ศึกษาวิธีจัดทำโครงงาน

ผู้จัดทำ
2
ประชุมปรึกษาหารือ

ผู้จัดทำ
3
คิดหัวข้อโครงงาน

ผู้จัดทำ
4
ศึกษารวบรวมข้อมูล

ผู้จัดทำ
5
แบ่งงานในหน้าที่

ผู้จัดทำ
6
จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์

ผู้จัดทำ
7
ลงมือทำโครงงาน

ผู้จัดทำ
8
เรียบเรียงจัดทำรูปเล่มรายงาน

ผู้จัดทำ
9
จัดทำผังโครงงาน

ผู้จัดทำ
10
นำเสนอครูที่ปรึกษา

ผู้จัดทำ
3.3 วิธีดำเนินการ
3.3.1 ศึกษาสภาพปัญหา
3.3.2 ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องที่กำหนด
3.3.3 วางแผนจัดเตรียมอุปกรณ์
3.3.4 ลงมือทำโครงงาน
3.4 อุปกรณ์และวิธีการดำเนินการ
          วิธีดำเนินงาน
3.4.1 วัสดุ
1.หัวเชื้อแชมพูออยล์(N70) 800 มิลลิลิตร
2.เกลือ 3 ช้อนชา
3.กลิ่นสังเคราะห์สตรอเบอร์รี่ 1 ขวด
4. น้ำขี้เถ้า 2 ลิตร
3.4.2 อุปกรณ์
1. ถัง 1 ใบ
2. บีกเกอร์ขนาด 600มิลลิลิตรและขนาด 250 มิลลิลิตร
3. ไม้คน
3.5 ขั้นตอนในการดำเนินงาน
3.5.1 ขั้นตอนเตรียมอุปกรณ์หรือสารเคมีโดยจัดทำดังนี้
-  หัวเชื้อน้ำยาล้างจาน N70 \
- กลิ่นสังเคราะห์สตรอเบอร์รี่ 
3.5.2 ขั้นตอนการทดลอง
3.5.2.1 เติมหัวเชื้อแชมพูออยล์ (N70) ลงในถัง
3.5.2.2 ใส่เกลือ 3 ช้อนลงไปในถังแล้วคนไปในทางเดียวกัน
 3.5.2.3 เทน้ำขี้เถ้าลงไปในบีกเกอร์ปริมาณ 2 ลิตร
3.5.2.4 ใส่กลิ่นสังเคราะห์สตรอเบอร์รี่ปริมาณ 1 ขวด ลงในบีกเกอร์
3.5.2.5 เทน้ำขี้เถ้าปริมาณ 2 ลิตร และกลิ่นสังเคราะห์สตรอเบอร์รี่ปริมาณ 1 ขวด ลงในถังคนไปในทางเดียวกันแล้วทิ้งไว้
1 คืน
3.5.2.6 จากนั้นนำไปใช้ล้างจานและคราบสิ่งสกปรกต่างๆ
3.5.3 ขั้นตอนการสังเกตผล
                                                            
                                                            บทที่4
ผลการทดลอง

กลุ่มของข้าพเจ้าได้จัดทำโครงงานการทดลองโดย
1.เติมหัวเชื้อแชมพูออยล์ (N70) ลงในถัง
2.ใส่เกลือ 3 ช้อนลงไปในถังแล้วคนไปในทางเดียวกัน
3.เทน้ำขี้เถ้าลงไปในบีกเกอร์ปริมาณ 2 ลิตร
4.ใส่กลิ่นสังเคราะห์สตรอเบอร์รี่ปริมาณ 1 ขวด ลงในบีกเกอร์
5.เทน้ำขี้เถ้าปริมาณ 2 ลิตร และกลิ่นสังเคราะห์สตรอเบอร์รี่ปริมาณ 1 ขวด ลงในถังคนไปในทางเดียวกันแล้วทิ้งไว้ 1 คืน
6.จากนั้นนำไปใช้ล้างจานและคราบสิ่งสกปรกต่างๆ

จากผลการทดลองพบว่าน้ำยาล้างจานกลิ่นสตรอเบอร์รี่สามารถใช้ในการล้างคราบสิ่งสกปรกออกจากภาชนะเครื่องครัวได้ดี มีฟองเกิดขึ้น เหมือนน้ำยาล้างจานอื่นๆ   
บทที่5
สรุปผลและอภิปรายผลการทดลอง

5.1 อภิปรายผลการทดลอง
      จากผลการทดลองเมื่อได้ทำน้ำยาล้างจานกลิ่นสตรอเบอร์รี่พบว่าสามารถใช้ในการล้างคราบสิ่งสกปรกออกจากภาชนะเครื่องครัวได้
5.2 สรุปผลการทดลอง
ผลปรากฏว่า
5.3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.) น้ำยาล้างจานสามารถเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ต้องการศึกษาค้นคว้า
2) ได้รับความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนในการทำน้ำยาล้างจานกลิ่นสตรอเบอร์รี่
3)ได้รับความรู้เกี่ยวกับการนำน้ำยาล้างจานไปใช้ในชีวิตประจำวัน
5.4 ข้อเสนอแนะ
1) ให้ปรับปรุงกลิ่น และสี ของน้ำยาล้างจานให้มีหลากหลายและแปลกใหม่ให้มากขึ้น เช่น กลิ่นช็อกโกแลต กลิ่นดอกมะลิ กลิ่นแอปเปิ้ลกลิ่นกุหลาบ กลิ่นวนิลา สีของเยลลี่สีต่างๆ   เป็นต้น

 เอกสารอ้างอิง